คลิป วีดีโอ ประมวลภาพการแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตร

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=dL-j_7xutXQ&feature=player_embedded] [youtube http://www.youtube.com/watch?v=mIRasr8efPw&feature=related] [youtube http://www.youtube.com/watch?v=MJNahvR_ieM&feature=related] [youtube http://www.youtube.com/watch?v=IWpscMJrltE&feature=related]
โพสท์ใน คลิป วีดีโอ แข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตร | ใส่ความเห็น

ประมวลภาพเรือเก่า

 

โพสท์ใน ประเพณีการแข่งขันเรือยาวพิจิตร | ใส่ความเห็น

การสร้างเรือยาว

การสร้างเรือเข้าทำการแข่งขันในสมัยปัจจุบันของจังหวัดพิจิตร คงจะเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้เพราะป่าถูกปิดทำให้ การชักลากไม้ไม่สะดวก ชาวเรือยาวทั้งหลาย มีแต่คิดหา วิธีนำเอาเรือยาวเก่ามาทำการซ่อมแซมใหม่ดังเช่นในปี พ.ศ.2533 ชาวเรือยาวของจังหวัดพิจิตรมีการซ่อมแซมเรือเรือเก่ามาทำการแข่งขัน หลายลำด้วยกัน เพราะการซ่อม เรือเก่าราคาซ่อมยังถูกกว่าการขุดเรือใหม่มากกมาย อย่างน้อย ๆ การขุดเรือยาวแต่ละลำต้องใช้เงินเป็นแสนบาท แต่การ ซ่อมเรือเก่ามาแข่งนั้นอาจจะใช้เงินเป็นหมื่น ๆ บาทเท่านั้นเอง เท่าที่เก็บรวบรวมข้อมูลในปี 2533 มีเรือระดับแชมป์ ๆ ทำการซ่อมแซม เพื่อเข้าทำการ แข่งขันหลายลำด้วยกัน

เรือธนูทองจากวัดรังนก อำเภอสามง่าม เรือแม่ตะเคียนทองจากวัดจระเข้ผอม อำเภอสามง่าม เรือเพชรชมพู จากวัด บางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก เรือแม่ พิกุลทองจากวัดบึงตะโกน อำเภอเมือง เรือแม่ขวัญมงคลทอง 3 ปีซ้อนจากวัด ราชช้างขวัญ อำเภอเมือง เรือศรทอง นักล่าเดิมพันเงินล้านจากวัดวังกลม อำเภอเมือง เรือขุนไกร จากวัดหงษ์ อำเภอเมือง และอีกหลายลำท่กำลังเตรียมการอยู่ มิใช่เรือยาวของชาวจังหวัดพิจิตรเท่านั้นชาวเรือจังหวัดอื่นก็คิด
ซ่อมแซม เรือเข้าทำการแข่งขันเหมือนกัน เช่น เรือศรีสุนทร จากวัดบ้านสร้าง อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ก็ซ่อมใหม่ และ เปลี่ยนชื่อเสียเลย โดยใช้ชื่อ ว่าธงชัย

ในการขุดเรือยาวใหญ่มีชาวเรือยาวหลายรายอยากจะขุด แต่ดังที่กล่าวมาการหาไม้มากมายเพราะป่าถูกปิด ไม้แต่ละต้น ที่นำมาขุดใช้ขุดเรือจะต้องยาวถึง
14 วาเศษ และต้องใช้ไม้ขนาดใหญ่ด้วย จึงทำให้การขุดเรือ ใหม่เป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ราคาค่าขุดเรือในปัจจุบันของจังหวัดพิจิตรก็ตกวาละประมาณ 7,000-8,000 บาท แต่อย่างไรก็ตามยังม ีชาวเรือต่างจังหวัดคิดขุดเช่นในภาคอีสานมีขุดใหม่หลายลำ เช่น เรือนารายณ์ประสิทธิ์ จากวัดต้นตาล อำเภอเสาไห้ นอกจากนี้ชาวกระทุ่มแบนจังหวัดสมุทรสาครก็ขุดเรือยาวใหญ่ซึ่งขุดอยู่จังหวัดระยองจำนวนหนึ่งลำ ทางกองทัพเรือ ก็ขุดเสร็จลงน้ำอีกหนึ่งลำ

ในปี พ.ศ.2533 เรือของจังหวัดพิจิตรได้ทำการขุดเรือใหม่เพื่อไว้ต่อกรกับเรือต่างจังหวัดถึง 4 ลำด้วยกัน ซึ่งจะขอนำ รายละเอียดมาเล่า สู่กันฟังดังนี้.-
ลำแรกเป็นเรือที่ชาวบ้านหัวดง อำเภอเมือง สร้างขึ้นใหม่ก็คือเรือเพชรไกรทอง ซึ่งได้ขุดจากไม้ตะเคียนทองลำต้นขนาด 15 กำช่างไม้ มีความยาว 14 วา 9 นิ้ว กว้าง 43.5 นิ้ว ไม้ที่นำมาขุดได้มาจากเขตติดต่อขอหมู่บ้านรักไทยกับหมู่บ้าน ร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ผู้ที่มีความสามารถไปนำไม ้มาขุด คือนายเลิศ โพนามาศ กับนายเล็ก บุญม่วง และได้นำไม้มาถึงวัดหัวดงเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2532 เริ่มทำการขุดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2532 โดยมีนายเลิศ โพธามาศ เป็นหัวหน้าช่าง มีนายจัด วิเชียรสรรค์ เป็นรองหัวหน้าช่าง และมีช่างลูกมืออีกหลายคนคือนายบุญธรรม สิงห์พรม นายเชื้อ ทิมอ่อง นายวิเชียร วิเชียรสรรค์ นายสุข ฤกษดี ทำการขุดเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 โขนหัวเรือ ทำด้วยไม้กระท้อนที่ได้จากบ้านนายสวัสดิ์ พูลคล้าย โขนท้ายเป็นไม้สำโรงที่ได้จากวัดเขารูปช้าง ไม้กงเรือเป็นไม้ประดู่ ที่ได้ มาจากวัดบึงนาราง รวมแล้วเรือเพชรไกรทองได้ ไม้มาประกอบเป็นเรือหลายหมู่บ้าน ด้วยกัน ความยาวตลอดโขนหัว ถึงโขนท้าย ยาว 17 วา 3 ศอก 13 นิ้ว เผอิญขุดเสร็จเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 บรรดาชาวบ้านหัวดงจึงนำเลขเศษ
13 นิ้ว ไปเสี่ยงโชคเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2532 เลขท้าย 2 ตัวล่างออกเป็น 13 พอดิบพอดี ทำให้รวยกันไปหลายรายนับว่า อัศจรรย์ยิ่ง

ในการสร้างเรือเพชรไกรทองต้องหมดค่าใช้จ่ายไปรวมทั้งสิ้นประมาณ 120,000.- บาท ซึ่งก็มีคุณนกเล็ก สดสีและคุณ สายพิณ พหลโยธิน บริษัท ที.ซี.มัยซิน หรือเรารู้จักกันในนามกระทิงแดง บริจาคเงินสดมา 90,000.- บาท นอกจากนี้ก็มี คุณสมาน (เม้ง) เจียมศรีพงษ์ มอบเงินสดให้อีก 10,000.- บาท ที่เหลือ นอกนั้นพ่อค้าประชาชนชาวบ้านหัวดงช่วยกันบริจาค

เมื่อขุดเสร็จแล้วคณะกรรมการจึงได้ประชุมเพื่อตั้งชื่อเรือโดยท่านเจ้าอาวาสวัดหัวดงเป็นประธานในการประชุม ที่ประชุมมีมติตั้งชื่อเรือลำใหม่ว่า “เพชร ไกรทอง” คำว่าเพชร หมายถึงองค์หลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของ ชาวจังหวัดพิจิตรและเพชรนนี้มี ความหมายอีกนัยหนึ่งคือเป็นเครื่อง ประดับ ที่แข็งที่สุด สำหรับคำว่าไกรทองนั้นเป็น ชื่อเรือดั้งเรือเดิมของวัดหัวดงและไกรทองก็เป็นพระเอกในเรื่องไกรทอง ซึ่งพระราชนิพนธ์โดย พระบาท สมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยอีกด้วย

ในการลงน้ำได้จัดพิธีใหญ่โต โดยเริ่มกระทำพิธีทางพุทธ เมื่อเวลา 13.39 น. และเริ่มทำพิธีทางพรหมเมื่อเวลา 14.00 น. มีคุณสุพงษ์ ศรลัมพ์ ผู้ว่าราชการ จังหวัดพิจิตรสวมพวงมาลัยและผ้าแพรที่โขนหัวและเจิมหัวเรือมีคุณวิโรจน์ โรจนวาศ นายอำเภอเมืองพิจิตร คุณทวีป กันแดง ศึกษาธิการจังหวัดพิจิตร พ.ต.ท.ประคอง อาจคงหาญ สวป.สภ.อ.เมืองพิจิตร และตัวแทนเรืออีกหลายลำมาร่วมสวมพวงมาลัย หลังจากปะพรมน้ำมนต์แล้วได ้ยกเรือ ลงแตะพื้นน้ำหน้า วัดหัวดงเมื่อเวลา 14.29 น.

ต่อมาที่สร้างขึ้นใหม่ก็คือเรือเทพเทวฤทธิ์ของชาววัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งได้ไม้ตะเคียนทอง มาจากป่าภูฮวด เขตติดต่อกับภูเขา หินล่องกล้า ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ตัดต้นไม้เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2532 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 และได้ชักลาก ออกจากป่ามาถึงวัดหาดมูลกระบือเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2533 เริ่มทำการขุดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2532 ช่างขุดก็มีนายฉาย โรจน์สว่าง อดีตกำนันตำบล
ย่านยาว อำเภอเมือง เป็นหัวหน้าช่างและมีช่างลูกมือซึ่งเป็นชาวบ้านวัดหาดมูลกระบืออีกหลายคนช่วยขุด ใช้เวลาในการขุดประมาณ 3 เดือนเศษก็เสร็จ รวมค่าใช้จ่ายไปประมาณ 60,000.- บาท

การตั้งชื่อเรือเทพเทวฤทธิ์เนื่องจากได้มีการทำพิธีบวงสรวงว่า จะให้ตั้งชื่อว่าอะไรก็ขอให้บอกเป็นนิมิต หลังจากทำพิธี บวงสรวงได้ 3 วัน ปรากฏว่าพอตก กลางคืนเกิดนิมิตขึ้น คือ มีคนรูปร่างสูงใหญ่แต่งตัวเหมือนนักรบโบราณมีเครื่องแต่งตัว สวยงามมาก ใส่ชฎาหรือมงกุฎถือดาบเป็นแสงวาว ซึ่งเกิดนิมิต
อยู่ถึง 3 วัน จึงได้ตั้งชื่อว่า เทพเทวฤทธิ์

เรือเทพเทวฤทธิ์ได้กระทำพิธีลงน้ำครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2533 ตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 5 ที่กล่าวมาแล้วคือ เรือเพชร ไกรทอง กับเรือเทพ เทวฤทธิ์ เป็นไม้ที่ได้มาจากจังหวัดพิษณุโลกทั้ง 2 ลำ และช่างผู้ขุดก็เป็นช่าง จากจังหวัด พิจิตรเหมือนกัน ลำต่อไปที่จะเสนอเป็นเรือของ จังหวัดพิจิตรที่ได้ไม้
มาจากจังหวัดอุตรดิตย์และขุดโดยช่างทางภาคใต้ เรือของจังหวัดพิจิตรที่เกิดขึ้นในปี 2533 และขุดโดยช่างทางภาคใต้คือ เรือป่าลั่น ไม้ที่นำมาขุด คือ ไม้ตะเคียนทองที่ได้ มาจากอำเภอทองแสงขันธ์ จังหวัดอุตรดิตย์ ขุดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 โดยนายเอื้อน พรหมขจร จากบ้านพล้อแดง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยคิดค่าขุดวาละ 7,000.- บาท ความยาวของตัวเรือ 14 วา 9 นิ้ว ทำการลงน้ำในวันที่ 15 กรกฎาคม 2533

การตั้งชื่อเรือป่าลั่น เนื่องจากเรือลำนี้ได้รับการอุปถัมภ์จากพลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ที่ได้ไม้นำมารขุดเรือ ทางคณะกรรมการจึงตั้งชื่อให้สอดคล้องกับท่าน จึงตั้งชื่อว่า “ป่าลั่น”

เรือลำสุดท้ายที่เกิดขึ้นของจังหวัดพิจิตรในปี พ.ศ.2533 ก็เห็นจะได้แก่เรือตรีทอง โดยไม้ที่จะนำมาขุดเรือตรีทอง มาจากแห่งเดียวกับเรือป่าลั่น คือ จาก อำเภอทองแสงขันธ์ จังหวัดอุตรดิตย์ จะขุดประมาณเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2533 และคิดว่าจะให้เสร็จก่อนงานแข่งขันเรือประเพณีของจังหวัดพิจิตร ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน พ.ศ.2533 ช่างที่จะทำการขุดก็คือช่างทางภาคใต้ได้แก่นายเอื้อน พรหมขจร จากบ้านพล้อแดง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งรายละเอียดของเรือป่าลั่นและเรือตรีทองได้รับรายละเอียดจากคุณนิวัมน์ น้อยอ่ำกับคุณนิเวศน์ น้อยอ่ำ ผู้ควบคุม เรือ 2 ลำนี้ จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย

จะเห็นได้ว่าในปี พ.ศ.2533 ทางจังหวัดพิจิตรมีเรือขุดใหม่รวม 4 ลำด้วยกันและเป็นการประชันกันระหว่าง ช่างเหนือ กับช่างใต้ว่าใครจะขุดได้แล่นกว่ากัน สนามแรกที่จะประลองก็คงจะเป็นวัดท่าหลวงพระอารามหลวง จังหวัดพิจิตร

โพสท์ใน ประเพณีการแข่งขันเรือยาวพิจิตร | ใส่ความเห็น

วิวัฒนาการของเรือยาว

เรือยาว มรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ เป็นกีฬาชาวบ้านอันสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตอันดีงามความผูกพัน ระหว่างสายน้ำ กับชีวิต เรือกับวิถีชีวิต บนพื้นฐานของ ความศรัทธา เลื่อมใสในคำสอนของพระพุทธศาสนา อันนำมาซึ่งความเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวของบวร ซึ่งแปลว่า ประเสริฐ อันได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน ซึ่งเป็น องค์กร พื้นฐานของชุมชน ชนบทไทย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของชาติ

เรือยาวประเพณีไทยได้มีวิวัฒนาการจากวิถีชีวิตมาสู่ประเพณีและวิวัฒนาการไปสู่ระบบการแข่งขั นานาชาติ ในปี พ.ศ.2531 อันเป็นทรัพยากรด้านการ ส่งเสริม การท่องเที่ยว ที่สำคัญจนเป็นที่นิยมแพร่หลาย ไปทั่ว กระทั่งพัฒนาไปสู่้การ กีฬาในการ แข่งขัน กีฬาแห่งชาติและระดับประเทศ สามารถจำแนก วิวัฒนาการได้เป็น

1. ยุคอดีต
แต่ละคุ้มบ้าน คุ้มวัด ในทุกลุ่มน้ำสยามประเทศนิยมหาไม้ตะเคียนนำมาขุดเป็นเรือยาวร่วมการแข่งขันอั แสดงออก ถึงความ พร้อมเพรียงแห่งหมู่คณะ เพื่อสร้างชื่อเสียงเกียรติคุณมาสู่คุ้มบ้าน คุ้มวัดของตนเอง ช่างขุดเรือ ที่มีชื่อเสียง ของประเทศไทย ที่ควรจารึกไว้ในความทรงจำตลอดไปว่าเป็นบรมคร
ูแห่งภูมิปัญญาไทย ในการขุดเรือยาว อาทิ
1.) ช่างเสริม เชตวัน บ้านเกาะหงส์ จังหวัดนครสวรรค์
2.) ช่างมา นคร บ้านเกาะหงส์ จังหวัดนครสวรรค์
3.) ช่างเลิศ โพธิ์นามาศ บ้านหัวดง จังหวัดพิจิตร
4.) ช่างวัน มีทิม บ้านแหลมทราย อำเภอหลังสวน จังหวัดพิจิตร

3. ยุคเรือลาว
นำมาทำสาวไทย ภายหลังการแข่งขันเรือยาวเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากอิทธิพลแห่งโลกยุคโลกภิวัฒน์ ได้รับ ความสนใจ จากสื่อมวลชน เห็นความ สำคัญของกีฬาชาวบ้าน มรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ สยามประเทศ ก่อให้เกิดการ ถ่ายทอดสดในสนามต่าง ๆ จึงมีภาคเอกชนและหน่วยงาน ของรัฐ ตระหนัก ถึงความสำคัญส่งทีมเรือ เข้า ร่วมการชิงชัย และธำรงรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม โบราณจาก ประเทศ เพื่อนบ้าน (ลาว) เข้ามาทำการตกแต่งแก้ไข ทำสาวใหม่ ด้วย ฝีมือของชาวไทยเพราะราคา ถูกกว่า เรือไทย เป็นยิ่งนัก

4. ก้าวสู่นานาชาติและกีฬาแห่งชาติ
ปัจจุบันเรือยาวประเพณีเป็นกีฬาทางน้ำบนพื้นฐานของวัฒนธรรมประเพณีที่ได้รับความนิยมแพร่หลายจนก้าวสู่ การแข่งขัน เรือนานาชาติเพื่อส่งเสริมการ ท่องเที่ยวและฝีพายแห่งสยามประเทศก็ประสบความสำเร็จสร้างชื่อเสียง ให้แก่ ประเทศไทย ในการแข่งขันในน่านน้ำสากลทั่วโลก ประการสำคัญ วงการ เรือยาวประเพณีได้รับการ ยอมรับจากวงการกีฬาระดับชาตื ิบรรจุเข้าชิงชัยเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ โดยการพัฒนารูปแบบ ให้เหมาะสมกับ ยุคสมัยที่ เปลี่ยนไปให้ได้ มาตรฐานกีฬาสากลทั่วไป

5. ยุคฝีพายมืออาชีพ พาณิชย์ แทรกแซง
สังคมไทยยุคปัจจุบัน เงิน หรือ วัตถุดิบ เจริญรุดหน้ากว่าจิตใจ ตลอดจนภาระกิจในการยังชีพในเศรษฐกิจยุค ปัจจุบันส่งผลกระทบก่อให้เกิดความ สับสนต่อ วิถีชีวิต อันดีงามเป็นยิ่งนัก แต่เดิมการแข่งขันเรือยาวประเพณีจาก วิถีชีวิตอันดีงาม เพื่อความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกันตลอดจน เพื่อนำมาซึ่ง ชื่อเสียง เกียรติยศแห่งคุ้มบ้านคุ้มวัด ก่อให้เกิดฝีพาย มืออาชีพ รับจ้างพายเรือ ด้วยค่าตัวที่สูงส่งและด้วยอำนาจของเงินตราบางครั้งทำให้หลงลืมคำ่ว่า ประเพณี และ วิถีชีวิต อันดีงามของ บรรพชนไปอย่างน่าเสียดายหรือเกิดการแสวงหาผลประโยชน์ในทางที่ผิดจากการจัดการแข่งขัน เป็นสิ่งที่ถึงสังวรระวัง เป็นยิ่งนักหรือ เกิดการเบี่ยงเบนจากคุณงามความดีอันเป็นภูมิรู้ภูมิธรรม ของบรรพชนอย่างแท้จริง

 

โพสท์ใน ประเพณีการแข่งขันเรือยาวพิจิตร | ใส่ความเห็น

ประมวลภาพ กิจกรรมงานแข่งเรือยาวประเพณี ริมน้ำน่านวัดท่าหลวง

การแข่งขันเรือยาวประเพณี ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช จังหวัดพิจิตร
ณ. วัดท่าหลวง พระอารามหลวง จังหวัดพิจิตร

โพสท์ใน ประเพณีการแข่งขันเรือยาวพิจิตร | ใส่ความเห็น

คำขวัญเมืองพิจิตร

“ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ  แข่งเรือยาวประเพณี  พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน 

เพลิดเพลินบึงสีไฟ  ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร  รสเด็ดส้มท่าข่อย 

ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง  ตำนานเมืองชาละวัน”

โพสท์ใน ประเพณีการแข่งขันเรือยาวพิจิตร | ใส่ความเห็น

ประวัติการแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตร

              การแข่งขันเรือยาว เป็นวัฒนธรรมประเพณีของชาติมาหลายยุคหลายสมัยสำหรับ              การแข่งขันเรือยาวประเพณีของวัดท่าหลวง เริ่มตั้งแต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณพระธรรมทัสสี-มุนีวงศ์   (เอี่ยม)   มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง    และเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร  ประมาณ  พ.ศ. 2450  แข่งขันติดต่อกันมาจนกระทั่งถึงสมัยของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณพระฑีฆทัสสี-    มุนีวงศ์  (ไป๋  นาควิจิตร) มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง  และเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร  ในสมัยของพระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณพระฑีฆทัสสีมุนีวงศ์ เป็นเจ้าอาวาส    การกำหนดงานจัดงานแข่งขัน เรือกำหนดตามวันทางจันทรคติคือวันขึ้น  6  ค่ำ  เดือน  11  ของทุกปี  ภายหลังน้ำในแม่น้ำน่านลดลงเร็วเกินไปไม่เหมาะสมจะแข่งขันเรือยาว   จึงเปลี่ยนมาเป็นวันขึ้น   6  ค่ำ เดือน 10  และจัดแข่งขันเพียงวันเดียว

            การแข่งขันเรือยาวของวัดท่าหลวง    ประชาชนให้ความสนใจมาชมงานอย่างคับคั่ง            ล้นหลามตลอดมา  เพราะวัดท่าหลวงตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพิจิตรเพียงวัดเดียวเท่านั้น            เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรเป็นผู้จัดสนับสนุน   โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร   (สมัยก่อนเรียกผู้ว่าราชการ  ว่า  ข้าหลวง  หรือ  พ่อเมือง)  สิ่งที่จูงใจอีกอย่างหนึ่ง  คือ  ภายในวัดท่าหลวงมีพระพูทธรูปทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง   คือ   หลวงพ่อเพชร  สมัยเชียงแสนสิงห์ 1  รุ่นแรก  ขนาดหน้าตักกว้าง  2  ศอก   6  นิ้ว   เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดพิจิตร     และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างยิ่ง เมื่อประชาชน   มาชมการแข่งขันเรือยาวแล้วได้มีโอกาสนมัสการ  และปิดทององค์หลวงพ่อเพชรด้วยมือของตนเองด้วย(เมื่อหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่อุโบสถหลังเก่าที่หลวงพ่อเอี่ยมสร้างด้วยไม้สักเกือบทั้งหลัง)   ได้อนุญาตให้ปิดทองที่องค์จริงได้    ต่อมาพระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณพระฑีฆทัสสีมุนีวงศ์  ( ไป๋   นาควิจิตร )  เมื่อ  พ.ศ.  2492  ได้อัญเชิญหลวงพ่อเพชรไปประดิษฐานเหนือพระแท่นฐานชุกชี    แล้วลงลักปิดทองเรียบร้อยทั้งองค์   แล้วห้ามประชาชนปิดทององค์จริง  เพราะว่าจะทำให้เสียความงามพระพุทธลักษณะปัจจุบันประชาชนให้ความเคารพนับถือหลวงพ่อเพชรทั่วประเทศไทยแล้ว  แม้วันปกติพระอุโบสถที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อเพชรก็ไม่ว่างจากสาธุชนที่มานมัสการ ผู้ที่มาเที่ยวเมืองพิจิตร หรือมาชมงานแข่งขันเรือยาวประเพณี  หากยังไม่ได้ไปนมัสการองค์หลวงพ่อเพชร  ผู้นั้นชื่อว่ายังมาไม่ถึงเมืองพิจิตร และวัดท่าหลวง เพราะว่าหลวงพ่อเพชรเป็นจุดรวมจิตใจ  ของประชาชนชาวจังหวัดพิจิตร

              ในการจัดรางวัลการแข่งขันเรือยาวประเพณีนั้น   ในสมัยหลวงพ่อเอี่ยมและต้นสมัยหลวงพ่อไป๋นั้น จัดผ้าห่มหลวงพ่อเพชรพับใส่พานให้เป็นรางวัลชนะเลิศ     และรองชนะเลิศแก่เรือยาวเมื่อเรือยาวลำใดได้ผ้าห่มหลวงพ่อเพชรไปแล้ว    จะพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง   จะนำผ้ารางวัลนั้นพันไว้ที่โขนเรือ    โดยถือว่าเป็นสิริมงคลแก่เทือกเรือ (ฝีพาย) ของตน ภายหลังคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า   ผ้าห่มหลวงพ่อเพชรเป็นของสูง   การนำผ้าห่มของหลวงพ่อเพชรไปพันที่โขนเรืออาจไม่เหมาะสม   จึงยกเลิกเสีย แล้วจัดทำธงที่มีภาพหลวงพ่อเพชรเป็นรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศแทน  ต่อมา ได้ทำธงแบบนี้ให้เป็นอนุสรณ์แก่เรือที่เข้าร่วมแข่งขันทุกลำ

การแข่งขันเรือยาวประเพณีของจังหวัดพิจิตร  ณ  วัดท่าหลวง    ได้รับการพัฒนาขึ้น             โดย ลำดับคือ  เพิ่มวันแข่งขันจากหนึ่งวันมาเป็นสองวัน  เพราะเรือยาวประเภทต่าง ๆ  ที่เข้าร่วมแข่งขันเพิ่มขึ้นทุกปี  และเพื่อความเป็นธรรมแก่เรือที่เข้าร่วมแข่งขัน  ได้จัดเพิ่มเรือยาวขนาดกลาง  ขึ้นมาอีกขนาดหนึ่ง    รวมเป็น  3   ขนาด  คือ  ขนาดเล็ก ฝีพายไม่เกิน  30  คน  ขนาดกลางฝีพาย  ไม่เกิน 40  คน   ขนาดใหญ่ฝีพายไม่เกิน   55  คน  แต่ละขนาดแยกเป็น   2   ประเภท  คือ ประเภท  ก  และประเภท ข  ประเภท  ก  คือ  การแข่งขันเรือยาวทั่วไป  โดยเชิญจากทุกจังหวัดที่มีเรือยาวเข้าร่วมแข่งขัน  ส่วนประเภท  ข นั้น เราจะเชิญเฉพาะเรือยาวที่อยู่ในจังหวัดพิจิตร  เท่านั้นกำหนดวันแข่งขันจากวันจันทรคติ  คือวันขึ้น  6  ค่ำ  เดือน 10 มาเป็นวันสุริยคติ  คือ  เสาร์  อาทิตย์ ของต้นเดือนกันยายนทุกปี

การจัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณีของจังหวัดพิจิตร   ณ   วัดท่าหลวง  ที่ดำเนินไป โดยความเรียบร้อยทุกปี นั้น  เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ให้การสนับสนุนและเป็นผู้ดำเนินงาน   อันประกอบด้วย  หัวหน้าส่วนราชการทุกส่วน  และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร  ทุกสมัย    อำเภอทุกอำเภอ  มีอำเภอเมืองพิจิตร  เป็นหลักสำคัญ   ที่สำคัญยิ่ง คือ เทศบาลเมืองพิจิตร  ที่สำคัญสุด  คือ  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย   เพราะได้ให้การสนับสนุนงานหลายอย่าง      และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบความสำคัญของงานโดยทั่วไป    ทั้งภายในประเทศ    และต่างประเทศ  ธนาคารต่าง   ๆ    ภายในจังหวัดพิจิตร    พ่อค้าประชาชน    คณะไวยาวัจกร     คณะทายกอุบาสกอุบาสิกา   วัดท่าหลวง   และผู้สนับสนุนส่งเสริมงานอย่างดียิ่ง  คือ  สื่อสารมวลชน    อันประกอบด้วย    วิทยุ  โทรทัศน์  หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาค  และท้องถิ่น

ในปี    พ.ศ. 2524   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ    พระราชทานถ้วยรางวัล   เนื่องในการแข่งขันเรือยาวประเพณีของจังหวัดพิจิตร  ทั้ง  3  ขนาด  คือ   ขนาดใหญ่    ขนาดกลาง   ขนาดเล็ก    นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้า ฯ  หาที่สุดมิได้          ถ้วยรางวัลที่พระองค์ พระราชทานมานี้ได้สร้างความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งให้แก่ประชาชนชาวจังหวัดพิจิตร และ คณะกรรมการผู้จัดงาน หลังจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้พระราชทาน    ถ้วยรางวัลแก่คณะกรรมการผู้จัดงานมานั้นแล้ว   ได้สร้างความสนใจแก่ประชาชนผู้มาชมงานเป็น   อย่างยิ่งเพราะเรือยาวส่งเข้าแข่งขันมากขึ้นและประชาชนมาชมงานมากขึ้น รายได้จากการจัดงาน  ก็มากขึ้นมีผลให้เงินสุทธิของงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

เมื่อการจัดงานแข่งขันเรือยาวของจังหวัดพิจิตรเสร็จเรียบร้อย  แต่ละปีจะมีรายได้สุทธิ

เป็นจำนวนเท่าใด ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ก็จะนำรายได้สุทธิจากงานนั้นส่วนหนึ่งถวาย               วัดท่าหลวง    ทางวัดได้นำเงินจำนวนนี้บูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดท่าหลวง   คือ   บูรณะ กุฏิสงฆ์  อีกส่วนหนึ่งจะใช้ในกิจกรรมสาธารณกุศลต่าง ๆ เช่น  รายได้จากการจัดงาน                   ในปี  2538-2539  ปีเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษก  ได้นำเงินขึ้นทูลเกล้า ฯ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ    โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศรัย  จำนวนเงินถึง  3  ล้านบาท

ท่านที่มาชมงานแข่งขันเรือยาวของจังหวัดพิจิตร     ที่ได้สละปัจจัยบำรุงงาน(ซื้อบัตรผ่านประตู) ชื่อว่าท่านเป็นผู้มีส่วนบำรุงสาธารณกุศลในจังหวัดพิจิตรและได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม  การกีฬาแข่งขันเรือยาวประเพณีอันดีงามของชาติให้คงอยู่ต่อไป  สำหรับปีนี้  จังหวัดพิจิตรจะจัดงานแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ในวันที่  3-4  กันยายน  2553   ท่านจะได้ชมขบวนเรือพระราชพิธีจำลองอัญเชิญถ้วยพระราชทาน  การประชันฝีพายเรือยาวที่สนุกสนาน  เร้าใจ  และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายล้วนน่าสนใจทั้งสิ้น

โพสท์ใน ประเพณีการแข่งขันเรือยาวพิจิตร | ใส่ความเห็น